Monday, June 17, 2013

พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์

พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์


พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกๆมีลักษณะเหมือนกับสังคมไทยในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
ต่อ มามีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น สังคมไทยจึงปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  จนกระทั่งเมื่อไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ ระบอบประชาธิปไตย สังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปภายใต้เสรีภาพที่กำหนดไว้ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ

4.1  ลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( .. 2325-2394 )
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสังคมไทยสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี คือยังคง
เป็นสังคมศักดินา นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์  พระราชวงศ์  เจ้านาย  ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และภิกษุสงฆ์
มีลักษณะ ดังนี้
1) พระมหากษัตริย์   ทรงเป็นประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร พระองค์ทรงได้รับยกย่องจากพสกนิกรของพระองค์ว่า  พระองค์ทรงมีลักษณะเป็น สมมติเทพตามลัทธิความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดู
เป็น ธรรมราชาตามลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา
2) พระราชวงศ์  หมายถึง  เจ้านาย ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์บางทีเรียกว่า
พระบรมวงศานุวงศ์ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  สกุลยศ กับ อิสริยยศ
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง  คือ  เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า 
ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศเจ้า ที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้น
  อิสริยยศที่สำคัญที่สุด ได้แก่  มหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็ถือเป็นอิสรยยศด้วยเหมือนกัน  ได้แก่ กรมหมื่น  กรมขุน  กรมหลวง และกรมสมเด็จพระ
๓)  ขุนนาง  คือบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน  มีศักดินา  ยศ   ราชทินนาม  และตำแหน่งเป็นเคื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ  ถ้าจะกล่าวอีกันยหนึ่งขุนนางก้คือ  บรรดาข้าราชการของแผ่นดิน  ขุนนางที่มีศักดินา  ๔00  ไร่  ขึ้นไปจะได้รับโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์  แต่ถ้าศักดินาต่ำกว่า  ๔00  ไร่ ลงมา  จะได้รับแต่งตั้งจากเสนาบดี    ยศของขุนนางมี  ๘  ลำดับ จากสูงสุดลงมาจนถึงต่ำสุด  คือ  สมเด็จเจ้าพระยา  เจ้าพระยา   พระยา   พระ   หลวง   ขุน หมื่น และพัน
๔) ไพร่  คือ ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่  ๒  ศอกครึ่ง  จะ๔กมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช่ในราชการต่างๆ 
                   ไพร่แบ่งเป็นประเภทตามสังกัดได้เป็น  ๒  ประเภท
๔.๑)  ไพร่หลวง  หมายถึง  ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ  เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง  ไพร่หลวงแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ  ไพร่หลวง  ที่ต้องมารับราชการตามที่ทางกำหนดให้ หากมาไมได้ต้องให้ผู้อื่นไปแทนหรือส่งเงินมาแทนการรับราชการ และไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินแต่ไม่ต้องมารับราชการ  เรียกไพร่ประเภทนี้ว่า ไพร่หลวงส่วย
๔.๒)  ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แกเจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการ เพื่อประโยชน์  เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเงินเดือน  การควบคุมไพร่ของมูลนาย  หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ตอบแทน  เช่น  ส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการของกำนันจากไพร่  เป็นต้น

๕)  ทาส  หมายถึง  บุคคลที่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเองแต่กลับตกเป็นทาสของ นายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส  นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้ลงโทษทุบตีทาสได้  แต่จะให้ถึงตายไม่ได้  ทาสมีศักดินา  ๕ไร่   สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ทาสมีหลายประเภท  เช่น  ทาสสินไถ่ (ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์)  ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย  ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา  เป็นต้น

๖)  พระภิกษุสงฆ์  เป็นผู้สืบทอดพระพุทธสาสนา  จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  เป็นที่เคารพนับถือของคนไทยทุกระดับ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายพระสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชจะได้รับสถาปนาจากพระมหากษัตริย์
          พระภิกษุสงฆ์จะมีตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นกันไป  นับตั้งแต่พะภิกษุสงฆ์ธรรดา  พระครู  พระราชาคณะ  และสูงสุดคือ สมเด็จพระสังฆราชประมุขของคณะสงฆ์และมีศักดินาลดหลั่นกันไปตามลำดับ


๗) ชาวต่างชาติ   ที่อาศัยอยู่ในไทยโดยการอพยพหนีภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือถูกกวาดต้อนเข้ามา  จัดอยู่ในระบบไพร่ตามกฎหมายศักดินา 

 
                                กล่าว โดยสรปสภาพสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นสังคมศักดินาและอยู่ภาย ใต้พระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์  คนในสังคมอาจแบ่งตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ต่อกันออก เป็น  ๒  ประเภท  คือ  มูลนาย  ซึ่งประกอบด้วยเจ้านายและขุนนาง  และไพร่  ประกอบด้วยไพร่และทาสมูลนาย  คือ ผู้ปกครอง  และไพร่ คือ ผู้ถูกปกครองสำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นสถาบันสำหรับสืบทอดพระพุทธศาสนา  ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  พระมหากษัตริย์  ขุนนาง  ไพร่  และทาส  สามารถบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้เหมือนกันทั้งหมด


ลักษณะสังคมไทยในยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย
              ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ ทรงมีพระราชดำริที่จะปลดปล่อยให้ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ของพระองค์มีอิสระและเกียรติภูมิของความเป็นมนุษย์ของพลเมืองไทย   การปลดปล่อยที่สำคัญและได้ยกย่องว่าเป็นพระราชกรณียกิจ  ก็คือ  การยกเลิกระบบไพร่และทาส
1)              การยกเลิกระบบไพร่ เป็น การแปลงสภาพของคนไทยทั้งมวลให้พ้นจากสถานะของไพร่มาเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ เนื่องจากระบบไพร่มีมานาน ร.5 จึงทรงมีพระบรมราโชบายที่จะยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระราชวงค์และขุนนางได้รับจากระบบไพร่
การยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้
1.1)     การจัดตั้งกรมทหารมหาเล็กรักษาพระองค์  ใน พ.ศ. 2413ทรงจัดตั้งกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์  โยทรงเก็บเอาบรรดาพระราชวงค์และบุตรหลานขุนนางที่ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
1.2)     การจัดตั้งกรมหน้า  พ.ศ.2423โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมทหารหน้า  โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสินพระชนม์เป็นทหาร ‘’ ทหารสมัคร ‘’
1.3)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติทหาร  พ.ศ.2431โปรดเกล้าให้ประกาศใช้ ‘’พระราชบัญญัติทหาร’’โดยกำหนดสิทธิหน้าที่ของพลทหารทั้งทหารบก  ทหารเรือ  พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ  10  ปี จึงจะเกษียณอายุ
1.4)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ  พ.ศ.2431ทรงประกาศใช้ ‘’ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ‘’ มีหน้าที่บังคับผู้คนที่เกี่ยวกับทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่
1.5)     การจัดระบบจ่ายเงินค่าราชการของไพร่ พ.ศ.2439ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่เข้าเดือนประจำการต้องเสียเงินแทนค่แรงปีละ 18 บาท  ส่วนไพร่หลวงถ้าไม่ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่  6  บาท  ถึง  12  บาท  ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่งและตั้งแต่  พ.ศ.2440 เป็นต้นไป
1.6)     การตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ.2448โปรดเกล้าให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ’’ กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทีมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี  แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว
***ดังนั้น  การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารเมื่อ พ.ศ.2448 จึงถือเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มีมานานหลายศตวรรษ
2)              การเลิกทาส ในการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเอง จำเป็นต้องดำเนินการค่อยเป็นค่อยไป  การ ยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีทาสอยู่ ในความครอบครองตลอดจนความเคยชินของทาสที่เคยมีผู้ปกครองดูแลมาตลอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน  ดังนี้
2.1)การวางข้อกำหนดเพื่อตระเตรียมการเลิกทาส  พ.ศ.2417ได้ มีการประกาศให้ผู้เป็นทาสได้ทำการสำรวจจำนวนทาสของตนที่จะเข้าข่ายของ เงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่เลี่ยกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2.2)  การประกาศใช้พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทยภายหลังการประกาศแผนการที่เตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ. 2417  ก็ได้มีการประกาศใช้ ’’ พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทย ‘’ซึ่งมีรายละเอียดหลายประการ  แต่ที่สำคัญ คือ ถ้าลูกทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาส และเกิด พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่ร.5เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นต้นมาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นจากการเป็นทาสทันที  ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2447 ก็ยังคงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
2.3)  การตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลต่างๆ ภายหลัง พ.ศ.2417 ใน พ.ศ.2423  ได้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียยงเหนือหรือมณฑลพายัพและประกาศ ‘’ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา ‘’            ส่วนการเลิกทาสในมณฑลไทรบุรีและเมืองกลันตัน ก็ให้เป็นไปตามลักธิศาสนาเมืองนั้นๆ
2.4)  การตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเลิกทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ’’โดยกำหนดหลักการและวิธีการสำคัญๆ ในการปลดปล่อยทาสในมณฑลต่างๆ
ดังนั้น  สังคมไทยในสมัยปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  ระบบมูลนายกับไพร่และระบบมูลนายกับทาส จึงยุติลง

Tuesday, November 6, 2012

การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงเทพฯ เพิ่งได้รับการโหวต ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกมาหมาดๆ เรื่องนี้ไม่ได้มาง่ายๆ เพราะเรื่องทางลบของกรุงเทพฯก็มีข่าวอยู่บ่อยๆ แต่อย่างน้อยต้องยกคุณความดีทั้งหมด ให้กับบรรพบุรุษของเรา ที่ท่านได้สร้างและรักษามาให้ลูกหลานจนถึงวันนี้ เลยอยากพาย้อนอดีตดูสักวัน

พื้นที่ ของกรุงธนบุรีหรือบางกอกนั้น ได้มีการสร้างพระนครแห่งใหม่คือ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร (BANGKOK) ขึ้น หลังจากที่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงได้มีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ที่บางกอกฝั่งตะวันออก





สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ฝั่งบางกอกตะวันออกและทำการ สร้างพระราชวังโดยพระราชทานนามว่า “ กรุงรัตนโกสินทร์อินทอยุธยา” (ต่อมาสมัย ร.๓ ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา” สมัย ร.๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา” ต่อมาเปลี่ยนคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” แล้วเติมสร้อยนามต่อมา(หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้ยกให้เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก)คือ

“กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”



สถาน ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นชุมชนเก่าที่เรียกว่าบางกอก คำว่าบางกอก นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากบริเวณแห่งนั้นที่มีต้นมะกอกมาก หรือมาจากคำว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก”เนื่องจากพื้นที่บางกอกทั้งฝั่งธนบุรีและกรุงเทพนั้นมีคลองและแม่ น้ำล้อมรอบ คล้ายเกาะ และเป็นที่เนินสูงเหมือนเกาะ

สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงขอให้คนจีน (บรรพบุรุษของพระยาโชฏึกเศรษฐี ต้นสกุล โชติกเสถียร) ที่ทำแปลงสวนผักอยู่บริเวณที่จะสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็งหรือ สามเพ็ง(วัดปทุมคงคา) และวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส)แทน เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างพระบรมมหาราชวังตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา

พระ บรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังชั้นนอก วังชั้นใน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอกมีหลายประตูคือ ประตู วิมานเทเวศร์ วิเศษชัยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์ ศักดิ์ชัยสิทธ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร สุนทรทิษา เทวาภิรมย์ อุดมสุดารักษ์ ส่วนประตูพระราชวังชั้นในมีชื่อว่า สุวรรณบริบาล พิมานชัยศรี สีกรลีลาศ เทวราชดำรงศร อุดรสิงหรักษ์ จักรพรรดิ์ภิรมย์ กมลาสประเวศ อมเรศร์สัญจร สนามราชกิจ ดุสิตศาสดา กัลยาวดี ศรีสุดาวงษ์ อนงคลีลา ยาตราสตรี ศรีสุนทร พรหมศรีสวัสดิ์ พรหมโสภา แถลงราชกิจ ปริตประเวศ ราชสำราญ และพิศาลทักษิณ ซึ่งบางประตูก็ถูกรื้อไปแล้ว











ได้ มีการสร้างป้อมหอรบไว้รอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง บางป้อมมีหลังคาคลุม มีชื่อ ป้อมอินทรังสรรค์ (อยู่มุมกำแพงด้านตะวันตก สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร (อยู่ทางตะวันออกของประตูวิเศษชัยศรี สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม) ป้อมเผด็จดัสกร (มุมกำแพงด้านตะวันออกข้างเหนือ ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม เคยมีเสาธงสูงตั้งอยู่) ป้อมสัญจรใจวิง (อยู่ด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๔) ป้อมสิงขรขันฑ์ (สร้างสมัย ร.๑) ป้อมขยันยิงยุทธ (อยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมฤทธิรุดโรมรัน (อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมอนันตคิรี (อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ใกล้พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ถนนสนามไชย ตรงข้ามสวนสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ สร้างสมัย ร.๑) ป้อมมณีปราการ (อยู่มุมวังด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๑ บุรณะสมัย ร.๒ เป็นรูปหอรบ) ป้อมพิศาลสีมา (สร้างสมัย ร.๑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมสัตตบรรพต ) ป้อมภูผาสุทัศน์ (อยู่มุมวังด้านตะวันตกใกล้ประตูพิทักษ์บวร สร้างสมัย ร.๑) ป้อมสัตตบรรพต (อยู่ทางตะวันตกของป้อมอนันตคิรี สร้างสมัย ร.๒ รูปหอรบ ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมโสฬสศิลา (ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมมหาโลหะ(ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมทัศนานิกร (สร้างสมัย ร.๕) ป้อมพรหมอำนวยศิลป และ ป้อมอินทรอำนวยศร

สำหรับป้อมรอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคล (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละคอนแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) มีชื่อ ป้อมทับทิมศรี เขื่อนขันธ์ นิลวัฒนา มุกดาพิศาล เพชรบูรพา วิเชียรอาคเนย์ เพชรไพฑูรย์ เขื่อนเพชร และมณีมรกต ป้อมเหล่านี้ได้ถูกรื้อลงหมดแล้ว

ในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดให้ทำการรื้อป้อมวิชาเยนทร์ และกำแพงเมืองธนบุรีข้างฟากตะวันออกเสีย เพื่อขยายพระนคร





พระ ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สร้างสมัย ร.๑ ใช้แบบใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์สมัยอยุธยา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใช้อาคารแบบฝรั่ง ส่วนบนใช้ทรงไทยยอดปราสาทสร้างสมัย ร.๕ ใน พ.ศ.๒๔๑๙ พระที่นั่งบรมพิมาน สร้างสมัย ร.๕ แบบยุโรป

สิ่งก่อสร้างสมัย ร.๑ นี้ ส่วนหนึ่งใช้อิฐซึ่งรื้อมาจากป้อมกำแพงและสถานที่ต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้โบราณสถานต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายเสียหายไปมาก

กำแพง พระราชวังที่สร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ใช้ เป็นระเนียดปักกันดินและเรียงอิฐที่ขนมาจากกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ต่อมาจึงปรับปรุงเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน








ใน ด้านความมั่นคง ทางยุทธศาสตร์ มีการสร้างป้อมรอบกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับป้องกันการโจมตีของข้าศึก ๑๔ ป้อมตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมือง มีชื่อป้อมเรียงทวนเข็มนาฬิกาดังนี้


ป้อมพระสุเมรุ อยู่ที่ปากคลองบางลำพูบน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระนคร
ป้อมอิสินทร อยู่ระหว่างป้อมพระสุเมรุกับป้อมพระอาทิตย์ปากคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอดด้านเหนือ
ป้อมพระอาทิตย์ อยู่สุดถนนพระอาทิตย์ ปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้
ป้อมพระจันทร์ อยู่ที่บริเวณท่าพระจันทร์ ตรงข้ามโรงพยาบาลศิริราช
ป้อมมหายักษ์ อยู่ริมน้ำ เยื้องหน้าพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ตรงข้ามวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันเป็นตลาดท่าเตียน
ป้อม มหาฤกษ์ ป้อมนี้น่าจะสร้างทับบนพื้นที่ของป้อมวิชาเยนทร์แบบฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ อยู่ตรงข้ามป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เป็นกองทัพเรือฝั่งธนบุรี อยู่ใกล้ปากคลองตลาดด้านเหนือ สมัย ร.๕ โปรดให้ใช้ที่ของป้อมมหาฤกษ์นี้สร้างโรงเรียนสุนันทาลัยซึ่งต่อมาเปลี่ยน ชื่อเป็นโรงเรียนราชินี ที่ปากคลองตลาด
ป้อมผีเสื้อ อยู่ปากคลองตลาดหรือคลองคูเมืองเดิมฝั่งใต้ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ป้อมจักรเพชร เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใกล้สะพานพุทธ
ป้อม มหาไชย อยู่เหนือคลองคูพระนครหรือคลองโอ่งอ่างด้านสะพานหัน ติดถนนมหาไชย ใกล้วังบูรพาภิรมย์ ป้อมนี้ต่อมาถูกรื้อเพื่อสร้างตึกแถวก่อนสงครามโลกครั้งที่ สอง ปัจจุบันคืออาคารรวมทุนไทย
ป้อมเสือทยาน อยู่เหนือประตูสามยอดตรงสะพานดำรงสถิต
ป้อมหมูทลวง อยู่ตรงข้ามสวนรมณีย์นาถในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเคยเป็นเรือนจำคลองเปรม
ป้อมมหากาฬ อยู่ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ป้อมมหาปราบ อยู่ระหว่างสะพานผ่านฟ้ากับสะพานวันชาติ
และป้อมยุคนธร อยู่ใกล้วัดบวรนิเวศ


ภาย หลังต่อมา ป้อมต่างๆนี้ได้ถูกรื้อไปหลายป้อม สำหรับป้อมที่ยังคงเหลืออยู่นั้นได้แก่ป้อมมหากาฬ ที่ผ่านฟ้าใกล้วัดสระเกศ และป้อมพระสุเมรุ ที่ถนนพระอาทิตย์ บางลำพูเท่านั้น



กำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพง เมืองที่สร้างขึ้นนี้ มีประตูเมืองอยู่หลายแห่งซึ่งจะเปิดเมื่อเวลาย่ำรุ่ง(พระอาทิตย์ขึ้น) และปิดเมื่อย่ำค่ำ (พระอาทิตย์ตก) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น สร้างประตูเมืองเป็นประตูทรงมณฑปเครื่องไม้ ทาดินแดงแบบกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เปลี่ยนประตูจากยอดไม้ทรงมณฑปเป็นประตูก่ออิฐ ด้านบนประตูทำเป็นหอรบ ไม่มียอด สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแบบประตูเมืองจากทรงหอรบเป็นประตูยอด เช่น
ประตูสามยอด อยู่ใกล้กองปราบสามยอด ใกล้สะพานดำรงสถิตย์ถนนเจริญกรุง ประตูนี้ถูกรื้อในสมัย ร.๕ เพื่อขยายสร้างเป็นถนนเจริญกรุง
ประตู พฤฒิมาศ หรือ พฤฒิบาศ หรือพฤฒาบาศ อยู่ด้านตะวันออก ตรงผ่านฟ้าใกล้ป้อมมหากาฬ ออกไปวัดปรินายก ประตูนี้ถูกรื้อสมัย ร. ๕ เพื่อสร้างสะพานผ่านฟ้าและถนนราชดำเนิน
ประตู สำราญราษฎร์ อยู่ที่ถนนมหาชัยใกล้วัดราชนัดดา ตรงข้ามกับคุก ชาวบ้านเรียกกันว่า ประตูผี เพราะเป็นประตูเดียวที่ให้นำศพของราษฎรที่ตายในกำแพงพระนคร ออกไปเผานอกพระนครที่วัดสระเกศ
ประตูสะพานหัน เป็นประตูพระนคร ที่จะออกไปสู่ย่านคนจีนที่สำเพ็ง สะพานหันเป็นสะพานเหล็กข้ามคลองคูพระนคร สร้างสมัย ร.๔ สามารถหมุนหันให้เรือผ่านได้ ประตูนี้ถูกรื้อสมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วสร้างตึกแถวแทน


สำหรับถนนในกรุงรัตนโกสินทร์สมัยแรกนั้น เป็นถนนดินแคบๆ พอที่คน ช้างม้า และเกวียนเดินได้เท่านั้น สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างถนนบำรุงเมืองทำด้วยอิฐตะแคง พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับปรุงถนนบำรุงเมืองและเฟื่องนคร เป็นแบบสิงคโปร์และอินเดีย สร้างตึกแถวริมถนนตามแบบตึกของหลวงที่กำหนดไว้ ถนนตั้งแต่ป้อมพระสุเมรุถึงป้อมมหากาฬชื่อถนนพระสุเมรุ ถนนไปทางท่าช้างวังหน้าชื่อถนนพระอาทิตย์ ถนนมหาไชยเริ่มจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ผ่านประตูผีถึงผ่านฟ้า





การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ.๒๓๒๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้ทำการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง

ในบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้น มีพระปรางค์ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสี ๘ องค์ทางหน้าวัดด้านตะวันออก มีชื่อดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์(สีขาว)
พระสัทธรรมปริยัติวรามหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระอริยสงฆ์สาวกมหาเจดีย์ (สีชมภู)
พระอริยสาวกภิกษุณีสังฆมหาเจดีย์ (สีเขียว)
พระปัจเจกโพธิสัมพุทธามหาเจดีย์ (สีม่วง)
พระจักรวัติราชมหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระโพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ (สีแดง)
พระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์ (สีเหลือง)

วัด พระศรีรัตนศาสดารามนี้จะมีการบูรณะใหญ่ทุก ๕๐ ปี เริ่มแต่สมัย ร.๓ - ร.๕ - ร.๗ และในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองซ่อมใหญ่ในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ของ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๒๕

ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ มีการสมโภชพระนครกรุงรัตนโกสินทร์แห่งใหม่ โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินบนใบเสมารอบพระนคร เสมาละ ๑ องค์ ตั้งโรงทานรอบพระนครและมีมหรสพต่างๆ (ตั้งแต่นั้นมากรุงรัตนโกสินทร์ได้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับตั้งแต่ รัชกาลที่.๑ - ๙ )

บุคคลสำคัญ ในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒

บุคคลสำคัญ ในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

       สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัย รัชกาลที่ ๓  แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่น ดินแล้ว แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕ รวมอายุได้ ๗๔ ปี


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ มีความรอบรู้ มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ



      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม
    เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ นเรศร์วรฤทธิ์ ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ทรงกรม เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง พระองค์มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ และราชประเพณี
   
ขรัวอินโข่ง

         ขรัวอินโข่ง เป็นชื่อเรียกพระอาจารย์อิน ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขรัวอินโข่งเป็นชาวบางจาน จังหวัดเพชรบุรี บวชอยู่จนตลอดชีวิตที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) กรุงเทพฯ การที่ท่านบวชมานานจึงเรียกว่า ขรัว ส่วนคำว่า โข่ง นั้นเกิดจากท่านบวชเป็นเณรอยู่นานจนใคร ๆ พากันเรียกว่า อินโข่ง ซึ่งคำว่า โข่ง หรือโค่ง หมายถึง ใหญ่หรือโตเกินวัยนั่นเอง
      ขรัวอินโข่ง เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ในการเขียนภาพทั้งแบบไทยที่นิยมเขียนกัน มาแต่โบราณ และทั้งแบบตะวันตกด้วย นับเป็นจิตรกรคนแรกของไทยที่มีพัฒนาการเขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังโดยการนำทฤษฎี การเขียนภาพแบบสามมิติแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในงานจิตรกรรมของไทยในยุคนั้น ภาพต่าง ๆ ที่ขรัวอินโข่งเขียนจึงมีแสง เงา มีความลึกและเหมือนจริง


พระประดิษฐ์ไพเราะ(มี ดุริยางกูร)



       พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อมี ครูมีแขกเป็นผู้เชี่ยวชาญคนตรีไทยเกือบทุกประเภท ทั้งยังแต่งเพลงด้วย เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ทยอยนอก ทยอยใน 3 ชั้น
      ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๑ ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย


ดร.แดน บีช แบรดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley)

        ดร.แดน บีช แบรดเลย์ ชาวไทยเรียกกันว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทย ส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ

พระกัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี แซร์) (Dr. Francis Bowes Sayre)



ประวัติและผลงานที่สำคัญ
      พระยากัลยาณไมตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่าง ประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘
       เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์) ว่าถนนกัลยาณไมตรีพระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๗ ปี

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์
วัด พระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
เนื่อง ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป


พระอุโบสถ
สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน


ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ภาย ในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
เครื่อง ทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก
พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ
บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป
หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระ พุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

จุดเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์
*กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๙ - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙*

*สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบอีกพระองค์หนึ่งของชาติไทย ที่มีอัจฉริยะภาพทางการทหารอย่างหาผู้ใดเทียมมิได้ สิบห้าปีตลอดรัชกาลทรงตรากตรำทำศึกไม่เว้นแต่ละปี หัวเมืองใหญ่น้อยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ กองทหารม้าอันเกรียงไกรของพระองค์นั้น เป็นต้นแบบในการรุกรบยุคต่อมา เป็นตัวอย่างอันดีของทหารในยุคปัจจุบันคือ ทหารต้องรู้จักคิด รู้จักพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้วยตนเอง ต้องเอาบ้านเมืองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ต่อให้มียศเป็นพระยานาหมื่นหากไม่มีบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ยศศักดิ์นั้นไหนเลยจะมีค่า การศึกในหลายๆครั้งกับพม่านั้น พระองค์ก็อยู่ในสภาวะที่มิต่างอะไรจากสมเด็จพระนเรศวรฯ คือมีกำลังน้อยกว่าแทบจะทุกครั้ง แต่พระองค์ก็สามารถเอาชัยได้จากพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถทางการทหาร ทรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ล้าหลัง ที่ศัตรูรู้ ที่ใครๆก็รู้ ทรงกล้าที่จะปฎิวัติความเชื่อใหม่ๆที่ทหารควรจะใช้เพื่อให้เหมาะกับสถาน ณการณ์ที่คับขัน การคุมพลยกแหกวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัยนั้น ถือได้ว่าเป็นทหารหนีทัพที่คิดกบฎเป็นทุรยศต่อแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ลังเลที่จะทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า หากพระองค์ไม่คิดเอาบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ไหนเลยจะย้อนกลับมาเพื่อกู้กรุงในอีกแปดเดือนถัดมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ยศศักดิ์ต่างๆที่พระองค์มีในตำแหน่งพระยาวชิรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชรนั้น หาได้มีความสำคัญต่อพระองค์ไม่แม้แต่น้อย ทรงรู้ดีว่า เมื่อสิ้นชาติ ยศศักดิ์ใดๆก็ไม่มีความหมาย และในพระนครนั้นก็ไม่มีขุนทหารผู้ใหญ่คนใดที่จะมีน้ำใจและกล้าหาญที่พอจะ รักษาชาติไว้ได้ พระองค์จึงกระทำการอันที่ยากที่ทหารคนใดผู้ใดจะกล้าทำ*



**ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของอยุธยานั้น ต่างมิได้ทำการช่วยอยุธยารบพม่าแต่อย่างใด ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นอิสระ นิ่งเฉยดูดายต่อชะตากรรมของพระนคร มีเพียงชาวบ้านบางระจันเท่านั้น ที่ช่วยอยุธยาต่อสู้กับพม่าในเส้นทางเดินทัพของเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทัพที่สอง

ทัพที่หนึ่งของพม่านั้นมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ทำหน้าทียกไปล้อมอยุธยาทางทิศใต้ของพระนคร ตลอดหัวเมืองรายทางของทั้งสองทัพของพม่านั้น ต่างอ่อนน้อมต่อพม่าไม่ทำการต่อสู้ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าคือ พระเจ้ามังระ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เห็นอยุธยาอ่อนแอและมั่งคั่งยิ่งนัก จึงคิดจะปราบอยุธยาเพื่อให้อาณาจักรอื่นกลัวเกรงในอำนาจ จึงให้สองแม่ทัพยกพลไปตีอยุธยา เหตุที่พระเจ้ามังระทรงไม่คุมทัพมาเองเพราะรู้ดีว่าอยุธยาอ่อนแอและแตกแยก ทรงรู้ได้จากข่าวสารของไส้ศึกที่ส่งเข้าไปบ่อนทำลายและแทรกซึมในทุกวงการทุก ชนชั้นของอยุธยา จึงให้เพียงแม่ทัพผู้ใหญ่ทั้งสองยกไปเองเท่านั้น ดูเอาเถิดเหตุการณ์เหมือนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๔๙มั้ย**



***พระเจ้าตากสินฯทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จากที่มีทหารเพียงแค่ห้าร้อยคน ทรงกระทำการจากเล็กๆเรื่อยไปจนถึงการใหญ่ซึ่งนั่นคือการ สถาปนากรุงธนบุรี ราชธานีใหม่ที่มีกองทัพกว่าสองแสนคน ไว้เป็นที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับคนไทย การเมืองการปกครองในกรุงธนบุรีในยุคเริ่มแรกนั้นร่มเย็นเป็นสุข เพราะกรุงธนบุรีมักจะเป็นฝ่ายรุกในเรื่องของการทหาร ไพร่ฟ้าประชาชนในเมืองจะปลอดภัยจากข้าศึก เพราะกองทัพของพระเจ้าตากสินฯจะยกพลไปรบในดินแดนข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าตากสินฯทรงมีนโยบายทางการทหารเป็นแนวเชิงรุก อาณาจักรใกล้เคียงต่างยอมอยู่ใต้เศวตฉัตร เพราะกรุงธนบุรีมีกองทัพที่เข้มแข็งและยุทธวิธีในการรบก็ไม่เหมือนใครเป็น แบบใหม่ที่ไม่อาจมีใครแก้ทางศึกได้ พระราชอาณาจักรจึงกว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยราชธานีเดิม แม้แต่กษัตริย์มังระของพม่าก็ยังครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ ถึงกับย้ายที่ตั้งมั่นจากเมืองตองอูสลับกลับเมืองแปร เมื่อใดที่ได้ข่าวกองทัพกรุงธนบุรียกมาใกล้ ก็จะย้ายไปอยู่เมืองแปร ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปอีกในดินแดนพม่า หากเหตุการณ์ปกติก็จะประทับอยู่ที่เมืองตองอู เพราะกษัตริย์มังระของพม่าพระองค์นี้ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอู จาการที่พระเจ้ามังระของพม่านั้นเป็นนักการทหารที่มีฝีมือองค์หนึ่งของพม่า มาก่อนนั้น พระองค์ทรงรู้ดีถึงแสนยานุภาพในทางการทหารของกรุงธนบุรีว่ากองทัพพม่าของ พระองค์นั้นไม่สามารถรับมือได้เพราะกองทัพพม่าใช้ช้างเป็นหลัก การวางกำลังตามแบบเบญจเสนา5ทัพของพระนเรศวรนั้นยิ่งทวีประสิทธิภาพมากเป็น ทวีคูณเมื่อพระเจ้าตากสินฯทรงใช้กองทัพทหารม้าเป็นหลัก สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกองทหารปืนนกสับ การเคลื่อนกำลังพล การบำรุงรี้พลการใช้กองหนุนและหน่วยรบพิเศษบนหลังม้า เหล่านี้ล้วนแต่เป็นศาสตร์ทางทหารแบบใหม่ที่พระเจ้าตากสินฯทรงต่อยอดความรู้ มาจากตำราพิชัยสงครามเบญจเสนาห้าทัพของพระนเรศวรฯทั้งสิ้น แม้แต่เวียดนาม อาณาจักรที่อยู่ห่างไกลกรุงธนบุรียิ่งนัก พระองค์ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือไปตีมาแล้ว แคว้นมลายู ปัตตานี ลานช้าง ลานนา เชียงตุง เชียงรุ้ง กองทัพกรุงธนบุรียาตราไปตีไปยึดมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือตัวอย่างของอาณาจักรที่มีกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร ยาตราทัพไปทิศใดไพรีก็พินาศ***



****กรุงธนบุรีและพระเจ้าตากสินฯ เริ่มมีปัญหาในทางการปกครองจากการที่รับเอาขุนนางเก่าของอยุธยามารับราชการ ขุนนางพวกนี้รังเกียจพระองค์เรื่องสายเลือดและเชื้อชาติอยู่แล้วในใจ นานวันไปขุนนางพวกนี้มาเติบใหญ่ในทุกวงราชการ ทั้งทหารและพลเรือน เมื่อเริ่มมีอำนาจก็เข้าอีหรอบเดิมเหมือนเมื่อครั้งอยู่กรุงเก่า เริ่มแบ่งพรรคแย่งพวก เริ่มตั้งข้อเปิดประเด็นเรื่องคนจีนและขุนนางที่มีเชื้อสายจีน ทั้งๆที่คนเชื้อสายจีนอย่างพระองค์นี่แหล่ะที่ปลดแอกพม่าให้คนไทย ระบบศักดินาเก่าแบบอยุธยาเริ่มกลับมามีบทบาทแทนพ่อปกครองลูกแบบสุโขทัยที่ พระเจ้าตากสินฯทรงนำมาใช้ ไม่นานความแตกแยกทางความคิดเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเริ่มลามเข้าสู่ในกองทัพ ทหารเชื้อสายจีนในกองทัพเริ่มไม่พอใจ ขุนนางทหารเริ่มแตกแยกกันเอง เริ่มหาผู้นำที่มีบารมีและยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม ลางร้ายเริ่มปรากฎ กองทัพกรุงธนบุรีปราชัยเป็นครั้งแรกที่เมืองเขมร เพราะทหารแต่ละทัพระแวงกันเอง ไม่เร่งเดินทัพเพื่อสมทบทัพหลวงที่พระเจ้าตากสินฯทรงให้พระราชโอรสเป็นจอม ทัพ ทัพต่างๆไม่บรรจบกันตามพิชัยสงครามดังที่เคยปฎิบัติ สุดท้ายเกิดกบฎที่เมืองหลวง นำโดยพระยาสรรค์ ขุนนางอยุธยาเก่าเชื้อสายไทยแท้ๆที่พระเจ้าตากสินทรงนำมาชุบเลี้ยง จนเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพกลับจากเขมรมาปราบปราม และปราบดาภิเศกเป็นปฐมราชวงศ์จักรี หมดสิ้นยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา****

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร

 
 
หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร" พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา
พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อ ครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน